
อีกหนึ่งสุดว้าวที่หลายคนได้ยินมา หรือแชร์กันไปเยอะมาก ๆ ก็คงหนีไม่พ้นการรับประทานยาถ่ายทำให้สมองเสื่อม แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า วันนี้เรามาหาคำตอบกัน
การเบ่งอึแต่ละครั้งต้องใช้แรงเบ่งมาก และพออุจจาระออกมาก็น้อยซะเหลือเกิน แถมยังมีลักษณะก้อนแข็ง รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการท้องผูก (Constipation)
ภาวะท้องผูกในประเทศไทย

จากวารสารทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บอกว่า ประเทศไทยมีผู้คนที่มีภาวะท้องผูกร้อยละ 23.5 และมีแนวโน้มของภาวะท้องผูกในคนที่อายุน้อยหรือวัยทำงานมากขึ้น เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะท้องผูก และเกิดความเสี่ยงกับโรคระบบทางเดินอาหาร หลายคนจึงมักจะหันไปพึ่งยาระบาย โดยการรับประทานต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง และอาจทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายตามมาอีกด้วย
สมองกับยาถ่ายเกี่ยวข้องกันยังไง

การใช้ยาระบายชนิดเดี่ยวหรือหลายชนิดร่วมกัน ยังเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อม โดยมีรายงานนี้ ตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยา (Neurology) ซึ่งเป็นวารสารทางการของสมาคมประสาทของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2023
ระบุว่า ผู้ที่ใช้ยาระบายประเภทที่เรียกว่า osmotic laxatives เป็นประจำ มีความเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ใช้ถึง 64% และคนที่ใช้ยาระบายหนึ่งประเภทหรือมากกว่าที่เป็นทั้งแบบ bulk-forming แบบ stool softening และ stimulant laxatives มีความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 90%
ยาระบายมีหลายกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา
- ยาระบายชนิดเพิ่มใยอาหาร (Bulk forming laxatives) ส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาผงชงละลายกับน้ำ เช่นยา Mucillin, Metamucil
- ยาระบายชนิดที่ดึงน้ำเข้ามาในลำไส้และทำให้อุจจาระเหลวนุ่มขึ้น และถ่ายง่ายขึ้น (oxidative laxatives) อาทิ lactulose, magnesium citrate, sodium acid phosphate
- ยาระบายชนิดที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มขึ้น (stool softening หรือ emollient) ช่วยให้น้ำและของเหลวผสมเข้ากับอุจจาระไม่ให้แข็ง เช่น ยา colace, docusate sodium
- ยาระบายที่กระตุ้นการบีบตัวของลำใส้ เช่น ยา dulcolax, senna (มะขามแขก)
โดยการใช้ยาระบายประเภทต่าง ๆ จะทำให้มีการปรับเปลี่ยนจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในลำไส้ผ่านกลไก ที่ส่งผ่านจากเส้นประสาทของลำไส้ขึ้นไปที่สมอง และจากการที่เสริมให้มีการสร้างสารพิษ (toxins) ที่ก่อให้เกิดการอักเสบผนังลำไส้รั่วและลุกลามไปทั่วร่างกายและกระทบการทำงานของสมอง
อย่างไรก็ดี ประชากรที่อยู่ในกลุ่มศึกษาที่รายงานนี้มีจำนวน 502,229 คน โดยที่ 54% เป็นสตรีและทั้งหมดมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 57 ปี ตอนที่เริ่มการศึกษา โดยทั้งหมดไม่มีอาการของสมองเสื่อมเลยตั้งแต่ต้น เมื่อทำการปรับค่าหรือปัจจัยต่าง ๆ ยาอื่น ๆ ที่ใช้ และรวมกระทั่งถึงประวัติครอบครัวที่มีสมองเสื่อมหรือไม่
พบว่า การใช้ยาระบายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทุกชนิด และความเสี่ยงของสมองเสื่อมที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยตันทั่วไป หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia) ซึ่งหากเกิดขึ้นในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้หรือความจำ ก็จะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้น โดยที่ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมแบบ อัลไซเมอร์

ทั้งนี้ถึงแม้ว่า จะยังไม่สามารถที่จะสรุปหรือพิสูจน์ได้ว่า การใช้ยาระบายทำให้เพิ่มความเสี่ยงเกิดสมองเสื่อมชนิดต่าง ๆ ที่กล่าวมา ควรต้องมีการศึกษาในขั้นลึกต่อไป แต่การใช้ยาระบายเป็นประจำต่อเนื่อง อย่างยาวนาน อาจมีผลข้างเคียงจนทำให้ลำไส้แปรปรวน ลำไส้ติดการกระตุ้นจากยาระบาย จนทำงานเองไม่เป็น หากไม่มียาระบาย ลำไส้ก็จะไม่ทำงานเลย อุจจาระตกค้างอยู่อย่างนั้น
และจุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ เซลล์บางชนิดในลำไส้ (enterochromaffin cells) ยังทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin กว่า 80% ของทั้งหมดที่ร่างกายสร้างได้ ซึ่งมากกว่าการผลิตออกมาจากสมอง ในบางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน มีท้องผูกสลับท้องเสีย ก็จะมีอาการร่วมกับอารมณ์แปรปรวนไปด้วยเช่นกัน เนื่องจากกระทบต่อ Serotonin ที่ร่างกายเราผลิตได้
สรุปแล้วจะเห็นได้ว่าแม้ว่าผลลัพธ์ของยาระบาย จะช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น แต่ผลข้างเคียงของแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไป การที่จะทำให้ร่างกายสามารถกลับมาขับถ่ายได้เองนั้น ต้องเพิ่มกากใยให้กับร่างกาย ด้วยการกินผักสด ผลไม้สด ทานโปรไบโอติก ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ดื่มน้ำมาก ๆ แต่ถ้าอยากให้เห็นผลไว เห็นผลเร็วและไม่ต้องกลัวเสียสุขภาพ ลองรับประทาน Lish Flora โปรไบโอติกที่ช่วยปรับสมดุล และ เพิ่มจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายดียิ่งขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวพรรณสดใส เพราะไม่มีสารพิษ หรือ อุจจาระตกค้างในลำไส้เรา แถมยังช่วยให้พุงป่อง ๆ ของเราหาบไปอีก หากใครมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย Lish Flora ช่วยได้แน่นอน
อ้างอิง
วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย), ไทยรัฐออนไลน์, ศูนย์สมองและระบบประสาท, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ซื้อสินค้า
รีวิว
งานวิจัย
บทความ
ติดต่อเรา
ประกันการจัดส่งสินค้า
นโยบายความเป็นส่วนตัว
โปรไบโอติกกับลดปัญหาท้องผูก
โปรไบโอติกกับอาการท้องอืด แน่นท้อง
โปรไบโอติกกับการแก้ลำไส้แปรปรวน
การลดไขมันส่วนเกินในช่องท้องด้วยโปรไบโอติก
การลดอาการกรดไหลย้อนด้วยโปรไบโอติก
โรคริดสีดวงทวารกับการลดอาการด้วยโปรโอติก
การบรรเทาและป้องกันลำไส้อักเสบด้วยโปรไบโอติก
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในโปรไบโอติก Lish FLora
ดีท็อก ล้างลำไส้ ด้วยสูตรซินไบโอติก