
ทำความรู้จักกับ “IF” และกลุ่มเสี่ยงของคนที่ไม่ควรทำ ถ้าไม่อยากร่างพังโดยไม่รู้ตัว
IF คืออะไร กลุ่มไหนบ้างที่ไม่ควรทำ IF
เมื่อพูดถึงการลดน้ำหนักที่ได้ผลเป็นอันดับต้น ๆ และยังคงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้นการทำ IF หรือชื่อเต็ม ๆ ก็คือ Intermittent Fasting ซึ่งหลายคนก็ต้องเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว เอาจริง ๆ วิธีนี้มีมานานกว่า 10 ปี แต่เพิ่งจะเริ่มเป็นที่นิยมในไทยได้ไม่นานมานี้ ซึ่งเดี๋ยววันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้กันว่า IF ที่พูด ๆ กันอยู่ทุกวันนี้มันคืออะไร

IF คืออะไรกันนะ
การลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting เป็นวิธีที่คิดค้นโดยทีมแพทย์ โดยเป็นวิธีการลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารเป็นช่วงเวลา และปล่อยให้ร่างกายหยุดรับอาหารเป็นช่วงเวลา ซึ่งเงื่อนไขหลัก ๆ ที่สำคัญของการ IF เลยก็คือ การงดอาหาร 1 มื้อในแต่ละวัน, งดทานอาหารมื้อดึก และกินอาหารตามปกติในช่วง 8 ชั่วโมง
ที่วิธีนี้กลายมาเป็นที่นิยมก็เพราะว่า “คนที่ลดน้ำหนักด้วยการทำ IF จะไม่เครียดกับการรับประทานอาหาร” เราจะสามารถรับประทานอะไรก็ถามแต่ต้องอยู่ในกฎของการทำ IF ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา และไม่จำเป็นต้องคำนวณแคลให้ปวดหัวอีกด้วย อันที่จริงก็มีนิดหน่อยแต่ส่วนใหญ่จะถูกปรับไปเป็น 0 แคล และนี่จึงเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนชื่นชอบการทำ IF นั่นเอง
แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก ๆ มีการทำวิจัยในหนูโดยการนำหนูมาทดลองให้ตัวแรกกินบ้างงดบ้างให้เหมือนกับการทำ IF ส่วนอีกตัวให้ตลอดเวลา ผลที่ได้คือหนูที่ทำ IF มีสุขภาพที่ดีกว่า

คนกลุ่มไหนที่ไม่ควรทำ IF
แม้ว่าการทำ IF จะดูเหมือนง่ายก็ตาม แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ไม่ควรทำ IF เพราะอาจทำให้สุขภาพเสียมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้ สำหรับคนกลุ่มดังกล่าวก็คือ…
– กลุ่มที่อายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากร่างกายยังไม่เจริญเติบโตดีพอ ทำให้การทำ IF อาจส่งผลกับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ และอาจทำให้ร่างกายเติบโตช้าหรือแม้แต่ผลกระทบต่อความแข็งแรงอีกด้วย
– ผู้ตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรจะต้องการสารอาหารที่สูงมาก เพื่อบำรุงลูกของคุณ การทำ IF จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดสารอาหารได้นั่นเอง
– ผู้ที่เพิ่งผ่าตัด ร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อไปฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการผ่าตัด การทำ IF จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
– ผู้ที่มีค่า BMI น้อย การทำ IF จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หากค่า BMI น้อยอยู่แล้วแสดงว่าเราผอมมาก ๆ ถ้าทำอีกจะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารนั่นเอง
– ผู้ที่เป็นโรคพฤติกรรมการกินบกพร่อง คนที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะขาดสารอาหารอยู่แล้ว หากทำ IF ก็จะทำให้ร่างกายทรุดลงกว่าเดิม ถ้าจะทำจริง ๆ ควรรักษาตัวเองให้หายเสียก่อนแล้วค่อยทำ IF

ทั้งหมดนี้ก็คือความรู้ดี ๆ ของการทำ IF ที่เรามาแบ่งปันกันนะคะ และถ้าใครที่อยากลดสัดส่วน หรือแม้แต่น้ำหนักของตัวเอง นอกจากการทำ IF แล้ว การรับประทานตัวช่วยอย่าง Lish Flora โปรไบโอติกคุณภาพที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายกลับมาดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และจากผลวิจัยร่วมกับจุฬา Lish Flora ยังช่วยเพิ่มลดน้ำหนักให้คุณได้อีกด้วย แบรนด์อื่นทำได้จริงไหมเราไม่รู้แต่ Lish Flora มาพร้อมผลวิจัยที่การันตีว่าทำได้จริง
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ซื้อสินค้า
รีวิว
งานวิจัย
บทความ
ติดต่อเรา
ประกันการจัดส่งสินค้า
นโยบายความเป็นส่วนตัว
โปรไบโอติกกับลดปัญหาท้องผูก
โปรไบโอติกกับอาการท้องอืด แน่นท้อง
โปรไบโอติกกับการแก้ลำไส้แปรปรวน
การลดไขมันส่วนเกินในช่องท้องด้วยโปรไบโอติก
การลดอาการกรดไหลย้อนด้วยโปรไบโอติก
โรคริดสีดวงทวารกับการลดอาการด้วยโปรโอติก
การบรรเทาและป้องกันลำไส้อักเสบด้วยโปรไบโอติก
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในโปรไบโอติก Lish FLora
ดีท็อก ล้างลำไส้ ด้วยสูตรซินไบโอติก