
โรคกรดไหลย้อน ในทางการแพทย์เรียกว่า Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) จัดเป็นโรคทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก หากไม่รักษาให้หายก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และทำให้หลอดอาหารเสียหายได้ รวมทั้งอาจทำให้เกิดการอักเสบจนกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
โดยอาการกรดไหลย้อนจะแบ่งออกไปเป็น 3 ระยะ ดังนี้
กรดไหลย้อนระยะที่ 1 – ในระยะแรก อาการจะเป็นเรื่องที่เกิดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากความสมดุลของจุลินทรีย์ที่น้อยลงจึงเริ่มทำให้การย่อยอาหารใช้เวลานานขึ้น ทำให้เกิดแก๊สในกระเพราอาหาร กลายเป็นอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และเริ่มมีลมขึ้นมาที่หน้าอก โดยอาการในระยะที่ 1 ที่ชัดเจน ได้แก่
– หายใจไม่อิ่ม
– อาหารไม่ย่อย
– ท้องอืด, จุกแน่น
– เรอบ่อย
กรดไหลย้อนระยะที่ 2 – ในระยะนี้ อาการจะเริ่มกำเริบไปยังบริเวณอื่นๆ โดยอาการจากระยะที่ 1 จะเริ่มทำให้มีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร ทำให้หูรูดหลอดอาหารเริ่มเสื่อมลง โดยในระยะนี้จะมีอาการรที่เด่นชัดได้แก่
– แสบร้อนกลางอก
– น้ำลายบูด, ขมเปรี้ยวในปาก
– ระคายเคืองคอ รู้สึกมีก้อนที่คอ
– กลืนอาหารลำบาก
กรดไหลย้อนระยะที่ 3 – สำหรับระยะนี้อาการกรดไหลย้อนจะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆมากขึ้น และกลายเป็นอาหารเรื้อรังอื่นๆ โดยมีอาการหลักๆ ได้แก่
– ไอเรื้อรัง แม้ไม่ได้เป็นหวัด
– ตื่นกลางดึก เพราะกรดไหลขึ้นมาที่คอ
– เจ็บแสบหน้าอกรุนแรง
– ปวดร้าวกล้ามเนื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น หลัง บ่า ไหล่
สาเหตุของของอาการกรดไหลย้อน
อาการกรดไหลย้อนจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมาที่หลอดอาหาร แต่ต้นเหตุเกิดจากการกระตุ้นจนทำให้มีการไหลย้อนของกรดออกมา โดยมีสาเหตุของอาการดังนี้
รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา – หากเราทานอาหารตรงเวลาทุกมื้อ กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดออกมาเป็นเวลา และเมื่อย่อยอาหารเสร็จ กรดจะเหลืออยู่น้อยมาก ทำให้โอกาสที่จะไหลย้อนกลับมา แต่ถ้าเราทานอาหารไม่ตรงเวลากรดในกระเพาะอาหารก็จะหลั่งออกมาเรื่อยๆ และเกิดแก๊ส ทำให้เกิดท้องอืด แน่นท้อง
ดื่มสุราหรือน้ำอัดลม – แอลกอฮอลล์และแก๊สในน้ำอัดลม จะออกฤทธิ์ทำให้เกิดการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารมากขึ้น เมื่อทานบ่อยๆ หูรูดจะคลายตัวมากขึ้น จนไม่สามารถหดกลับไปสนิทได้แบบเดิมอีก จึงทำให้น้ำกรดไหลย้อนกลับมาที่หลอดอาหารและเกิดอาการแสบร้อนที่กลางอก
น้ำหนักเกินมาตรฐาน – ในผู้ที่มีภาวะอ้วน ไขมันต่างๆจะทำให้พื้นที่ในช่องท้องลดลง ทำให้กระเพาะอาหารถูกบีบให้เล็กลงทำให้พื้นที่ด้านในเหลือว่างน้อย น้ำกรดในกระเพาะอาหารมีโอกาสโดนหูรูดหลอดอาหารได้บ่อยขึ้น ฤทธิ์ของกรดทำใหหูรูดหลอดอาหารเสื่อมสภาพ และปิดไม่นิทตามมาในที่สุด
ทานอาหารแล้วเข้านอนทันที – เมื่อทานอาหารแล้วเข้านอนทันที จะทำให้อาหารยังไม่ทันได้ถูกย่อยทำให้ อาหารจะผสมอยู่กับกรดในกระเพาะอาหาร เมื่อนอนทันที จะทำให้อาหารไหลกองมาที่หูรูดหลอดอาหาร และดันกรดและอาหารออก ทำให้หูรูดหลอดอาหารเสื่อมและปิดไม่สนิท
วิธีแก้และรักษากรดไหลย้อนที่นิยมในปี 2022
แก้กรดไหลย้อนด้วยการปรับพฤติกรรม – การปรับพฤติกรรมเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษากรดไหลย้อน แต่ก็เป็นวิธีที่ยากที่สุดเช่นกัน เพราะหลายคนไม่สะดวกที่จะปรับพฤติกรรม เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น เวลา, หน้าที่การงาน หรือ สุขภาพเป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยนอาจจะสร้างความไม่สบายใจให้กับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน จนสุดท้ายมักจะพบว่าหายคนยอมทนกับอาการเหล่านี้หรือไปทดลองรักษาด้วยวิธีอื่น
โดยการปรับพฤติกรรม ที่ควรปรับก็คือ การทานอาหารให้เป็นเวลา เวลาทานอาหารไม่ควรรีบทาน เคี้ยวให้ละเอียด ไม่ทานเยอะจนเกินไป ไม่ทานอาหารตอนดึก ไม่เข้านอนทันทีหลังทานอาหาร นอกจากนี้ต้องงดทานอาหารเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม กาแฟ และสุราต่างๆ รวมทั้งงดการสูบบุหรี่ด้วย
นอกจากนี้ ควรมีเวลาในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ยิ่งลดน้ำหนักได้มาก ก็จะทำให้อาการลดลงได้ยิ่งขึ้น หรือพยายามเดินให้ได้วันละอย่างน้อย 7,000 ก้าวหรือขยับตัวบ่อยๆ ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน
การรักษากรดไหลย้อนด้วยยาแผนปัจจุบัน – การทานยาเพื่อแก้อาการกรดไหลย้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 จะเป็นกลุ่ม “ยาลดกรด” โดยตัวยาจะเข้าไปลดการผลิตกรดในกระเพาะอาการออกมา ทำให้ไม่มีกรดมากเกินไปและไม่เกิดการไหลย้อนกลับมาที่หลอดอาหาร โดยยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Cimetidine (Tagamet), Famotidine (Pepcid), Ranitidine (Zantac), Nizatidine (Axid) เป็นต้น
ระดับที่ 2 จะเป็นกลุ่มที่ “ยับยั้งการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร” ทำให้เมื่อทานแล้วจะไม่มีมีกรดหลั่งออกมา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ โดยยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Omeprazole (Prilosec), Lansoprazole (Prevacid), Rabeprazole (Aciphex), Pantoprazole (Protonix) เป็นต้น
ระดับที่ 3 จะเป็นกลุ่มที่ “เพิ่มการบีบตัว” เมื่อทานแล้วจะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารเกิดการบีบตัวและปิดสนิท รวมทั้งทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวมากขึ้น ย่อยอาหารได้ดีขึ้น และไม่มีของเสียข้างในระบบทางเดินอาหารนานเกินไป จนเกิดแก๊สต่างๆ โดยยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Metoclopramide (Reglan), Cisapride (Propulsid) เป็นต้น ซึ่งจะต้องจ่ายยาตามใบส่งแพทย์เท่านั้น
การรักษากรดไหล้อนด้วยสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ – เนื่องจากการทานยาแผนปัจจุบัน มักจะเป็นการรักษาโดยบรรเทาอาการเท่านั้น หากหยุดทานแล้วอาการก็อาจจะกลับมาได้อีก ดังนั้นการทานสมุนไพรหรือยาแผนโบราณจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของอาการกรดไหลย้อนต่างๆ โดยสมุนไพรที่ช่วยลดอาการกรดไหลย้อนมีดังนี้
ขิง – มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและเพิ่มภูมิต้านทาน เมื่อนำผงขิง 1 ช้อนชา มาชงกับน้ำทานต่อเนื่องจะทำให้อาการแสบร้อนลดลง
ขมิ้นชัน – จะสร้างเมือกที่กระเพาะอาหาร เพื่อยับยั้งการหลังกรดออกมา ทำให้ไม่เกิดภาวะกรดเกินและไหลย้อนกลับมาที่หูรูดหลอดอาหารนอกจากนี้ยังช่วยสมานแผลได้อีกด้วย ควรชงผงขมิ้นชัน 1 ช้อนชากับน้ำทานต่อเนื่องทุกวัน
ลูกยอ – จะมีสารสโคโปเลติน (Scopoletin) ที่มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของหลอดอาหารเท่ากับยามาตรฐานอย่าง แลนโซพราโซล หรือ รานิทิดีน ได้เลย รวมทั้งยังช่วยในการลดการหลั่งกรดและทำให้เกิดการบับตัวของกระเพาะและลำไส้ได้อีกด้วย
ว่านหางจระเข้ – จะมีสารไกลโคโปรตีน มีฤทธิ์ในการลดการหลั่งกรดและเคลือบมีงานวิจัยพบว่าหากทานสารสกัดว่านหางจรเข้ติดต่อกัน 4 สัปดาห์จะทำให้อาการแสบร้อนกลางอก ท้องอืด เรอ กลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน และ การรู้สึกถึงรสเปรี้ยวในปาก ลดได้อย่างมาก
ใบหญ้านางแดง – จะมีฤทธิ์เย็น ทำให้ช่วยลดอาการแสบร้อนในกระเพาะอาหาร และบริเวณเวณหลอดอาหารได้ โดยจะนำใบมาต้มดื่มอย่างต่อเนื่อง
การรักษากรดไหลย้อนด้วยโปรไบโอติก
โปรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อมีจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่เหมาะในปริมาณที่พอดี จะทำให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างปกติ มีภูมิคุ้มกันที่ดี
แต่เนื่องจากการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน พฤติกรรมต่างๆ ทำให้จุลินทรีย์ที่ดีมีจำนวนลดน้อยลง จนส่งผลต่อร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น การย่อยอาหารที่น้อยลง การขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา เกิดภาวะเครียดง่าย นอนไม่หลับ เป็นต้น
ซึ่งการที่เรามีจุลินทรีย์ที่ไม่สมดุลนี้เองทำให้เกิดผลต่อกรดไหลย้อนด้วยเช่นกัน เพราะจุลินทรีย์บางสายพันธุ์เมื่อมีน้อยเกินไปทำให้ร่างกายไม่ปกติ เช่น การหลั่งกรดมากเกินไป, การอักเสบที่เกิดขึ้นง่าย, การขับถ่ายที่ไม่ดี ทำให้เกิดอาการและกลายเป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง
ซึ่งในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและวิจัยจนพบว่ามีจุลินทรีย์บางสายพันธุ์ เมื่อมีในประมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้อาการกรดไหลย้อนทุเลาลงโดย ซึ่งจุลินทรีย์ที่พบบ่อยได้แก่
Lactobacillus gasseri (แลคโตบาซิลัส แกสเซอรี่) – จัดว่าเป็นจุลินทรีย์ที่หายากและมีราคาแพง เนื่องจากมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนในการลดไขมันส่วนเกิน, การลดลำไส้แปรปรวน
ส่วนประโยชน์สำคัญของ Lactobacillus gasseri ของการแก้อาการกรดไหลย้อนก็คือ การลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ให้ผลิตออกมาเกินความจำเป็น ทำให้ไม่เกิดอาการแสบร้อนในท้องและลดโอกาสการอักเสบที่หูรูดหลอดอาหาร
Bifidobacterium lactis (บิฟิโดแบคทีเรียม แลคติส) – จุลินทรีย์ตัวนี้ จัดว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยที่ช่วยในการขับถ่ายให้ง่ายและเป็นเวลา ลดปัญหาท้องผูก ซึ่งการที่ท้องผูกนานๆ จะทำให้ของเสียในลำไส้สร้างแก๊สพิษและดันย้อนกลับมาที่กระเพาะ ส่งผลให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง หายใจไม่อิ่มได้
ดังนั้น เมื่อเรามีการขับถ่ายอย่างเป็นประจำ ทำให้ไม่มีแก๊สในกระเพาะอาหารคอยดันกรดย้อนกลับมาที่หูรูดหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้อาการกรดไหลย้อนไม่กำเริบหรือหนักขึ้นได้
Bifidobacterium infantis (บิฟิโดแบคทีเรียม อินฟานทิส) – จุลินทรีย์ตัวนี้จะช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ค้างอยู่ที่กระเพาะอาหารนานเกินไป โอกาสที่อาหารจะผสมกับกรดแล้วถูกดันกลับมาที่หูรูดหลอดอาหาร ก็จะน้อยลง ทำให้ไม่เกิดการอักเสบแลแสบร้อน
เมื่อเรามีจุลินทรีย์ทั้ง 3 สายพันธุ์ที่เพียงพอ ก็จะคอยควบคุมทั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร, การย่อยอาหารที่ดีขึ้น, การขับถ่ายที่ดี, ไม่มีแก๊สพิษในกระเพาะอาหาร, ไม่มีการอักเสบและแสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ ซึ่งเป็นต้นของการทำให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบและรุนแรง
Lish Flora โปรไบโอติกเพื่อคนเป็นกรดไหลย้อนโดยเฉพาะ
เพราะใน Lish Flora มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนทั้ง 3 สายพันธุ์ โดยเฉพาะ Lactobacillus gasseri ที่ใส่มามากถึง 20,000 ล้านตัว ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ต้องอาศัยการทานจากอาหารเท่านั้น ทำให้ผู้ที่ทาน Lish Flora จะมีอาการแสบร้อนลดลงหลังทานต่อเนื่อง 3-4 วัน
ในส่วนของ Bifidobacterium lactis ก็ช่วยได้ทั้งการขับถ่ายที่ดี และลดอาการน่ารำคาญต่างๆ ของกรดไหลย้อน ซึ่งจะมีการใส่จุลินทรีย์ตัวนี้มากถึง 12,000 ล้านตัว ซึ่งถือว่าเพียงพอในการช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ โดยที่ไม่ต้องปรับพฤติกรรม
ส่วน Bifidobacterium infantis ก็ใส่มา 1,000 ล้านตัว ซึ่งจุลินทรีย์ตัวนี้จะตั้งรกรากในกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยในการย่อยอาหารให้ดีขึ้นโดยเฉพาะ การเติบจุลินทรีย์สายพันธุ์นี้วันละ 1,000 ล้านตัวถือว่าเพียงพอต่อการทำงานของการย่อยอาหารแล้ว
การทานโปรไบโอติกเพื่อแก้อาการกรดไหลย้อน จะไม่ใช่การทานเพื่อรักษาตามอาการแบบยาแผนปัจจุบัน แต่จะเป็นการฟื้นฟูจากสาเหตุที่แท้จริงของกรดไหลย้อน ซึ่งจะต้องทานอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 1-2 เดือน
ถ้าเทียบการรักษากรดไหลย้อนด้วยวิธีต่างๆ การทานยาแผนปัจจุบัน จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีที่สุด แต่จะต้องทานเป็นประจำ เมื่อหยุดทานอาการอาจจะกลับมากำเริบได้ ส่วนการทานโปรไบโอติกอาจจะไม่ได้หายขาดเลยทันที แต่ก็ถือว่าเป็นการรักษาที่ยั่งยืน โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากนัก ก็สามารถมีอาการดีขึ้นได้
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ซื้อสินค้า
รีวิว
งานวิจัย
บทความ
ติดต่อเรา
ประกันการจัดส่งสินค้า
นโยบายความเป็นส่วนตัว
โปรไบโอติกกับลดปัญหาท้องผูก
โปรไบโอติกกับอาการท้องอืด แน่นท้อง
โปรไบโอติกกับการแก้ลำไส้แปรปรวน
การลดไขมันส่วนเกินในช่องท้องด้วยโปรไบโอติก
การลดอาการกรดไหลย้อนด้วยโปรไบโอติก
โรคริดสีดวงทวารกับการลดอาการด้วยโปรโอติก
การบรรเทาและป้องกันลำไส้อักเสบด้วยโปรไบโอติก
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในโปรไบโอติก Lish FLora
ดีท็อก ล้างลำไส้ ด้วยสูตรซินไบโอติก