เคยสงสัยไหม? ทำไมการกินยาถึงทำให้ท้องผูก



ถ้าพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ท้องผูก หลายๆคนคงนึกถึงการกินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย ดื่มน้ำไม่เพียงพอ และขาดการออกกำลังกาย

แต่รู้หรือไม่ การใช้ยาก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ท้องผูกได้

ยาทำให้ท้องผูกได้อย่างไร?

การเคลื่อนที่ของอาหารและกากอาหารต้องอาศัยการบีบตัวของลำไส้และทางเดินอาหาร เพื่อให้กากอาหารหรือของเสียต่างๆไหลไปรวมกันที่บริเวณทวารหนัก หากลำไส้หรือทางเดินอาหารมีการบีบรัดตัวที่ผิดปกติไป จะทำให้อาหารหรือกากอาหารผ่านได้ช้าและทำให้ท้องผูกได้

  • ยาที่มีฤทธิ์ลดการบีบเกร็งของทางเดินอาหาร โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์ต้านอะเซทิลโคลีน (สารที่ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร) จึงทำให้ท้องผูกได้
  • ยาบางชนิดมีฤทธิ์กระตุ้นตัวรับ (receptor) ที่เกี่ยวข้องกับการลดการเคลื่อนที่ของอาหารและกากอาหาร จึงทำให้ท้องผูก และการกระตุ้นที่ตัวรับนี้ยังเพิ่มการบีบรัดตัวของหูรูดทวารหนักอีกด้วย ยิ่งทำให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปได้ยากขึ้น
  • ยาที่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี ทำให้ยาเหลืออยู่ภายในทางเดินอาหารปริมาณมาก ซึ่งยาบางอย่างมีฤทธิ์โดยตรงในการลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร หรือยาบางอย่างอาจรวมตัวกับอุจจาระจนเป็นก้อนแข็ง ทำให้กากอาหารเคลื่อนที่ได้ช้า และขับถ่ายได้ยากลำบาก

นอกจากนี้ยาที่ไม่ถูกดูดซึมอาจรบกวนการเจริญของจุลินทรีย์และสภาพแวดล้อมภายในลำไส้ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ท้องผูกได้

มาดูกันว่า ยาที่คุณกำลังไปซื้อ หรือยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ยาเหล่านั้นสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้หรือไม่?

  1. ยาประเภทอะลูมินัม เช่น ยาลดกรดอะลูมินัม (ตัวอย่าง ได้แก่ อะลูมินัมไฮดรอกไซต์ในยาชนิดน้ำและอะลูมินัมออกไซด์ในยาชนิดเม็ด) และซูคราลเฟต (sucralfate) ยาเหล่านี้ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและสำไส้
  2. ยาลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อ (antispasmodics) โดยเฉพาะยาที่ลดการบีบเกร็งของทางเดินอาหาร เช่น ไฟไซโคลเวอรีน (Gicycloverine) และมีบีเวอรีน (mebeverine) ยาเหล่านี้ใช้รักษาโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการบีบตัวของทางเดินอาหารที่มากเกิน เช่น โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน (irritable bowel syndrome) ยากลุ่มนี้อาจทำให้ท้องผูกรุนแรงได้
  3. ยาลดความดันโลหิต (antihypertensives) เช่น โคลนดิน (clonidine) เมทิลโคพา (methyldopa) โพรพราโนลอล (propranolol) ในเฟดีพีน (nifedipine) เวอราพามิล (verapaml) และพราโซซิน (prazosin)
  4. ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เช่น คลอร์เฟนิรามีน (chlorphenirarine) และโพรเมทาซีน (promethazine) ยาเหล่านี้ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ
  5. ยาระงับปวดโอปิออยด์ (oploid analgesics) เช่น มอร์ฟีน (morphine) โคเดอื่น (codeine) ทรามาดอล (tramadol) ยาเหล่านี้ใช้ลดอาการปวดที่เกิดรุนแรงทั้งกรณีที่เกิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
  6. ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม tricyclic antidepressants เช่น อะมิทริปที่อื่น (amitriptyline) และอิมพรามีน (Imipramine)
  7. ยาบำบัดโรคจิด (antipsychotics) เช่น อะมิซัลพรายต์ (amisulpride) คสอร์โพรมาขึ้น (chlorpromazine) และโคลซาพื้น (clozepine)
  8. ยาต้านพาร์กินสัน (antparkinson drugs) เช่น เอนแท็กคาโพน (entacapore) พรามเพ็กโซล (pramipexole) และเซเลจิลีน (selegiline)
  9. ยาต้านโรคลมชัก (antisplaptle drugs) เช่น คาร์บามาเซพีน (carbamazepine) ออกซ์คาร์บาเซพีน (oxcarbazepine) เฟนโทอิน (phenytoin) และพริกาบาลิน (pregabalin)
  10. ยารักษาโรคกระดูกพรุนกลุ่มบิสฟอสโฟเนต (bisphosphonates) เช่น อะเลนโตรเนต (alendronate) และไรเซโดรเนต (risedronate)
  11. ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal antiinflammatory drugs หรือ NSAIDs) เช่นแอสไพริน (aspirin) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และไดโคลฟีแน็ก(diclofenac)
  12. ยาอื่นๆ เช่น ยาเหล็ก (Iron preparations) และยาแคลเซียม (calcium supplements)

ในบางครั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาโรคต่างๆอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้นได้ ทำได้โดยการ

  • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ หรือใยอาหารให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ให้ได้อย่างน้อย 1.5-2 ลิตรต่อวัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้แล้ว แต่อาการท้องผูกยังไม่ดีขึ้น การรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของโปรไบโอติก จะช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของโปรไบโอติก ได้แก่ อาหารหมักดอง นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ เทปเป้ นัตโตะ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล