ผลของการบริโภคชีสที่มีโปรไบโอติกในการแก้ปัญหาท้องผูก



Effect of the consumption of a cheese enriched with probiotic organisms (bifidobacterium lactis bi-07) in improving symptoms of constipation
ผลของการบริโภคชีสที่มีโปรไบโอติกในการแก้ปัญหาท้องผูก

การศึกษาและงานวิจัยจาก basic health units ประเทศบราซิล

ท้องผูก หนึ่งในปัญหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ถึงจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่โรคร้ายแรง อย่างโรคมะเร็งลำไส้ได้

ปัจจัยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคอาหารในแต่ละวัน นอกจากนี้อาการท้องผูกยังเกิดได้จาก ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้

แพทย์และนักวิจัยหลายๆคน จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอาการท้องผูกรับประทานโปรไบไบโอติก เพื่อปรับสมดุลลำไส้ และแก้อาการท้องผูก

ตัวอย่างงานวิจัยในประเทศบราซิล favretto และคณะทีม ได้ทำการวิจัยผลของการบริโภคชีสที่มีโปรไบโอติก (bifidobacterium lactis)ในการแก้ปัญหาท้องผูก โดยทำการทดลองกับอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 30 คน vkp6 20 – 60 ปี ที่มีอาการท้องผูก โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มแรก จำนวน 15 คน จะได้รับชีสที่มีโปรไบโอติก(b. Lactis) 108 cfu
  • กลุ่มที่สอง จำนวน 15 คน จะได้รับชีสที่ไม่มีโปรไบโอติก

อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม ต้องรับประทานชีส วันละ 30 กรัมในมื้อเช้า เป็นระยะเวลา 30 วัน อาสาสมัครที่เข้าร่วมงานวิจัยจะถูกประเมินอาการท้องผูกด้วยแบบสอบถามที่เป็นเกณฑ์ของ rome III criteria ทั้งวันเริ่มและวันที่สิ้นสุดการทดลอง

หลักเกณฑ์ของ rome III criteria มีดังนี้

  1. ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
  2. อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
  3. รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
  4. มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
  5. ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ
  6. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

จากการทดลองเป็นระยะเวลา 30 วัน ผลปรากฏว่า ผู้หญิงที่ได้รับชีสที่มีโปรไบโอติก(b. Lactis) มีอาการท้องผูกที่ดีขึ้นเป็น 5 ใน 6 ข้อตามเกณฑ์ของ rome iii criteria ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีอาการดีขึ้นเพียง 3 ใน 6 ข้อ ตามเกณฑ์ของ rome III criteria กล่าวคือ อาสาสมัครที่ได้รับชีสที่มีโปรไบโอติก (b. Lactis) ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น และมีความถี่ในการขับถ่ายต่อสัปดาห์มากกว่ากลุ่มควบคุม

อ้างอิง

Favretto, et al. Effect of the consumption of a cheese enriched with probiotic organisms (bifidobacterium lactis bi-07) in improving symptoms of constipation. Arq gastroenterol. 2013; 50(3):196-201

คลิกที่นี่..อ่านงานวิจัยฉบับสมบูรณ์