
โปรไบโอติก กับ ยาถ่าย แตกต่างกันอย่างไร
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่าการขับถ่ายในทุก ๆ วันเป็นเรื่องยาก ในสัปดาห์มี 7 วัน บางคนถ่ายทุกเช้า บางคนถ่ายทุกวัน สบายโล่งท้อง ส่วนคุณเอง 7 วัน จะถ่ายสัก 2-3 วัน แถมพอนึกถึงช่วงเวลาที่ต้องขับถ่ายแล้วก็รู้สึกเหนื่อยทันที ยิ่งสัปดาห์ไหนไม่ถ่ายติดกันหลายวันมันยิ่งสะสม ทำให้รู้สึกอึดอัดท้อง ไม่สบายตัว คุณอาจจะเข้าข่าย ภาวะท้องผูก
แต่ก็ไม่ต้องถึงกับต้องคำนวนนับวันเวลาว่าเราถ่ายน้อยกว่ากี่ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วจะต้องเข้าข่ายกับภาวะท้องผูกนะ เพราะอาการท้องผูกเนี่ย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่ายเสมอไป การขับถ่ายมีการแปรปรวนไม่เหมือนกันในแต่ละคน ตราบใดที่เราสามารถถ่ายได้อย่างสบาย ๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วัน จะถ่ายสักครั้ง ก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
แต่ถ้าเมื่อไรที่เรารู้สึกว่า เราถ่ายไม่สุดเหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ต้องใช้น้ำฉีดช่วย ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง อาการคร่าว ๆ เหล่านี้พอที่จะบ่งบอกได้ว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน และปัจจุบันพอความรู้ทางการแพทย์แพร่หลายมากขึ้น หลาย ๆคนเริ่มศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหานี้ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า “เมื่อท้องผูก ระหว่างทานยาระบายแบบเดิม ๆ กับทานโปรไบโอติกแบบไหนดีกว่ากัน”
ทำความรู้จักกับ “ยาถ่าย” ที่ไม่ควรกินเยอะจนเกินไป

การพึ่งยาถ่ายอาจจะเป็นทางเลือกแรก ๆ เพราะมีสรรพคุณกระตุ้นลำไส้ใหญ่โดยตรง ทำให้ลำไส้เกิดการเคลื่อนไหวมากขึ้น ส่งผลให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายง่าย แต่พอใช้ต่อเนื่องนาน ๆ เข้าก็เคยชินกับการถ่ายด้วยยา อาจจะทำให้ลำไส้ติดการกระตุ้นจากยาถ่าย จนลำไส้ทำงานเองไม่เป็น นั้นก็หมายถึงถ้าไม่มียาถ่าย ลำไส้ก็จะไม่ทำงานเลย
ท้ายที่สุดแล้วแม้จะกินยาถ่ายก็ไม่สามารถกระตุ้นให้ขับถ่ายได้ กลายเป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องผูกเรื้อรัง ดังนั้น ไม่ควรใช้ยาถ่ายพร่ำเพรื่อ ควรอย่างระมัดระวัง ใช้แต่พอเหมาะพอควร หรือตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
“โปรไบโอติก” ตัวเลือกระยะยาวเพื่อลำไส้ที่ดีของคุณ
ส่วนโปรไบโอติกนั้น (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ในทางเดินอาหารจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้เพื่อผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดี ทำให้ลำไส้แข็งแรง ง และมีส่วนช่วยในการทำงานของลำไส้ โดยสังเคราะห์กรดอะมิโนที่จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ผลิตแก๊สที่ช่วยผลักดันอุจจาระและขจัดเชื้อโรคออกจากลำไส้ เพิ่มมวลและความนุ่มให้กับอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก
แบบนี้เราควรเลือกอะไรดี

จากทั้งหมดนี้เราอาจจะสรุปได้ว่า ยาถ่าย และโปรไบโอติก แม้ว่าจะให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน คือเป็นตัวช่วยระบายได้เหมือนกัน ยาถ่ายนั้นอาจจะให้ผลที่ไวกว่า แต่เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานก็ส่งผลเสียต่อเราได้ ส่วนโปรไบโอติกนั้น เป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารและระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสมดุล และช่วยในการดูดซึมสารอาหาร และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย
สุดท้ายจำไว้ว่าการจะมีสุขภาพดีแบบครบองค์รวม จะต้องดูแลจากภายในด้วยการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติและมีอย่างเพียงพอ พฤติกรรมใด ๆ ที่ถือเป็นการรบกวน และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีนี้ลดลง ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะเมื่อจุลินทรีย์ลดลงจนเหลือน้อยก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้ร่างกายขาดความสมดุล และผิดปกติ รวมทั้งเสี่ยงที่จะมีได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งการรับประทานโปรไบโอติกส์ทั้งจากอาหาร หรือ Lish Flora ตัวช่วยดูแลระบบขับถ่ายของคุณให้กลับมาดูดีอีกครั้ง นอกจากช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว โปรไบโอติกยังสามารถช่วยลดพุงได้อีกด้วย นี่คือข้อดีของโปรไบโอติกที่ดีมาก ๆ ยิ่งกว่ายาถ่าย
อ้างอิง Interpharma Thailand, Mega we care for your wellness, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, ชีวจิต
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ซื้อสินค้า
รีวิว
งานวิจัย
บทความ
ติดต่อเรา
ประกันการจัดส่งสินค้า
นโยบายความเป็นส่วนตัว
โปรไบโอติกกับลดปัญหาท้องผูก
โปรไบโอติกกับอาการท้องอืด แน่นท้อง
โปรไบโอติกกับการแก้ลำไส้แปรปรวน
การลดไขมันส่วนเกินในช่องท้องด้วยโปรไบโอติก
การลดอาการกรดไหลย้อนด้วยโปรไบโอติก
โรคริดสีดวงทวารกับการลดอาการด้วยโปรโอติก
การบรรเทาและป้องกันลำไส้อักเสบด้วยโปรไบโอติก
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในโปรไบโอติก Lish FLora
ดีท็อก ล้างลำไส้ ด้วยสูตรซินไบโอติก