
มีคราบเลือดติดออกมากับอุจจาระ นี่แหละสัญญาณของ โรคริดสีดวงทวาร !
หลายๆคนกำลังประสบปัญหานี้อยู่ แต่ก็อายที่จะไปพบแพทย์ จึงเก็บอาการที่เป็นอยู่ไว้เป็นความลับ ไม่บอกใครรู้
ลองมาเช็คอาการกันดูอีกรอบ หากคิดว่าเข้าข่ายโรคริดสีดวงทวาร ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งต้องใช้เวลาพักฟื้นนานพอสมควร เสียทั้งเวลา เสียทั้งงาน เสียทั้งเงิน รู้แบบนี้แล้วยังจะปล่อยมันทิ้งไว้อยู่ไหม
โรคริดสีดวงทวาร คืออะไร?
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว ซึ่งอาจมีได้หลายหัวและเป็นพร้อมกันได้หลายตำแหน่งบริเวณทวาร
ริดสีดวงทวารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ริดสีดวงทวารชนิดภายใน
กลุ่มหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุลำไส้ภายในรูทวารหนักปูดพอง ซึ่งจะต้องตรวจพบได้เมื่อใช้กล้องส่องตรวจ ความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เริ่มมีหัวริดสีดวงเกิดขึ้น แต่ไม่มีก้อนเนื้อยื่นออกมา และจะมีเลือดสดๆออกมาขณะถ่ายหรือหลังถ่ายอุจจาระ
- ระยะที่ 2 หัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ และจะหดกลับเข้าไปได้เองภายหลังถ่ายอุจจาระเสร็จ
- ระยะที่ 3 หัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ ไอ จาม ยกของหนัก หรือออกกำลังกาย และจะไม่กลับเข้าไปเองต้องใช้นิ้วมือดันเข้าไป
- ระยะที่ 4 หัวริดสีดวงทวารโผล่ออกมาคาอยู่ข้างนอกตลอดเวลา ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ ผู้ป่วยจึงรู้สึกเจ็บปวด
2. ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก
กลุ่มหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณปากทวารหนักปูดพอง ซึ่งสามารถมองเห็นและคลำได้ เพราะผิวหนังรอบๆ ทวารจะถูกดันจนโป่งออกมา ผู้ป่วยจึงรู้สึกเจ็บปวด
สาเหตุเกิดจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่มักพบในผู้ที่มีอาการเหล่านี้
- ผู้ที่มีภาวะท้องผูกเรื้อรัง
- ผู้ที่ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ
- ผู้ที่ชอบนั่งถ่ายเป็นระยะเวลานานๆ
- ผู้ที่มีอุปนิสัยเบ่งถ่ายอย่างมาก เพื่อให้ขับอุจจาระได้อย่างรวดเร็ว
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- การตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
อาการที่ควรรีบไปพบแพทย์
- มีเลือดสีแดงสดออกมาขณะถ่ายอุจจาระ หรือหลังถ่ายอุจจาระแล้วเสร็จ
- มีก้อนเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ
- คันหรือระคายเคืองรอบๆปากทวารหนัก
- คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนักและมักมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
แนวทางการรักษาโรคริดสีดวงทวาร
- การใช้ยาเหน็บทวาร ครีมทาทวาร และยาทาภายนอก หากใช้ครบ 1 สัปดาห์อาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
- การฉีดยาเข้าไปที่หัวริดสีดวงทวาร หรือใช้แถบยางรัดโคนหัวริดสีดวงทวาร
- การจี้หัวริดสีดวงทวารด้วยความร้อนหรือความเย็น
- การผ่าตัดเอาหัวริดสีดวงทวารออก
ถึงแม้ว่าการรักษาจะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น แต่ถ้ายังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสกลับมาเป็นโรคริดสีดวงทวารได้ใหม่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
วิธีการปฎิบัติตัวและดูแลตัวเอง เพื่อให้ห่างไกลโรคริดสีดวงทวาร
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวไม่ขัดสี ผักผลไม้ และธัญพืชต่างๆ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ถ่ายอุจจาระให้เป็นประจำนิสัย
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย จากเดิมที่ใช้อยู่บ่อยๆ
- รับประทานโปรไบโอติก ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลลำไส้ เพิ่มมวลอุจจาระ ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้ง่าย และลดปัญหาในระบบทางเดินอาหารให้กับคุณได้
อ้างอิง
ริดสีดวงทวาร. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ซื้อสินค้า
รีวิว
งานวิจัย
บทความ
ติดต่อเรา
ประกันการจัดส่งสินค้า
นโยบายความเป็นส่วนตัว
โปรไบโอติกกับลดปัญหาท้องผูก
โปรไบโอติกกับอาการท้องอืด แน่นท้อง
โปรไบโอติกกับการแก้ลำไส้แปรปรวน
การลดไขมันส่วนเกินในช่องท้องด้วยโปรไบโอติก
การลดอาการกรดไหลย้อนด้วยโปรไบโอติก
โรคริดสีดวงทวารกับการลดอาการด้วยโปรโอติก
การบรรเทาและป้องกันลำไส้อักเสบด้วยโปรไบโอติก
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในโปรไบโอติก Lish FLora
ดีท็อก ล้างลำไส้ ด้วยสูตรซินไบโอติก