โรคลำไส้แปรปรวน (IBS – Irritable Bowel Syndrome)



โรคลำไส้แปรปรวน คือ อาการผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด และอาการท้องผูกหรือท้องเสียซึ่งอาจจะเกิดอาการใดอาการหนึ่ง หรือเกิดสลับกันทั้งท้องผูกและท้องเสียก็ได้ ซึ่งโรคลำไส้แปรปรวนเป็นอาการที่เรื้อรัง ดังนั้นจึงควรรักษาให้หาย เพราะสร้างความน่ารำคาญให้กับชีวิต

โดยพบว่ามีส่วนน้อยมากของผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ที่จะแสดงอาการ ผู้ป่วยบางส่วนมักควบคุมการเกิดอาการด้วยการดูแลการกินอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการควบคุมความเครียด หากมีอาการที่รุนแรงอาจต้องปรึกษาแพทย์และทำการรักษาด้วยยา

อย่างไรก็ดีโรคลำไส้แปรปรวน ไม่ได้มีผลต่อเนื้อเยื่อของลำไส้ ดังนั้นจึงไม่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งได้

** อาการของโรคลำไส้แปรปรวน **

อาการของโรคลำไส้แปรปรวนที่มักจะพบบ่อย มีดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ซึ่งอาการจะบรรเทาลงเมื่อมีการขับถ่าย
  • มีแก๊สในช่องท้อง ผายลมบ่อย
  • มีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย บางครั้งจะมีอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน
  • มีเมือกในอึจจาระ

ควรไปพบแพทย์เมื่อ : มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของลำไส้อย่างต่อเนื่อง หรือมีอาการอื่นๆของโรคลำไส้แปรปรวนที่อาจจะบ่งบอกถึงภาวะที่ร้ายแรงของโรคอื่น เช่น โรคมะเร็งลำไส้ เมื่อมีอาการ น้ำหนักลดลง, ท้องเสียตอนกลางคืน, มีเลือดออกทางทวาร, อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ, กลืนลำบาก หรือ ปวดท้องต่อเนื่อง แม้จะขับถ่ายแล้วก็ไม่หาย

** สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน **

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวนยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เกิดจากการปัจจัยดังต่อไปนี้

  • กล้ามเนื้อหดตัวในลำไส้ – เนื่องจากผนังลำไส้ จะเรียงตัวเป็นเส้น เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะทำให้จะทำให้ลำเลียงอาหารผ่านระบบทางเดินอาหารได้ หากกล้ามเนื้อหดตัวมากเกินไปหรือนานกว่าปกติจะทำให้เกิดแก๊ส เกิดอาการท้องอืด อาการท้องเสีย หรือหากหดตัวน้อยเกินไป จะทำให้การลำเลียงอาหารในลำไส้ช้าลง ส่งผลให้อุจจาระแห้งและแข็ง
  • ระบบประสาท – ความผิดปกติของระบบประสาทจะส่งผลต่อการย่อยอาหาร โดยจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว มีการท้องอืด การส่งสัญญาณถึงกันที่ไม่ดีระหว่างสมองและระบบทางเดินอาหาร จะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวด ท้องเสียหรือท้องผูก
  • การอักเสบในลำไส้ – ผู้ป่วยโรคลำไส้เรื้อรังจะเพิ่มจำนวนเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ ซึ่งจะส่งผลต่อการตอบสนองทำให้เกิดอาการปวดและท้องเสีย
  • การติดเชื้อรุนแรง – โรคลำไส้แปรปรวนอาจจะพัฒนาเป็นการท้องเสียรุนแรง (โรคลำไส้อักเสบ) โดยแบคทีเรียหรือไวรัสที่มีมากเกินไป
  • การเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ – แบคทีเรียที่ดีในลำไส้มีบทบาทหลักสำหรับสุขภาพดี คนที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักจะมีแบคทีเรียที่ดีน้อยกว่าในคนที่มีสุขภาพดี

** สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน **

  • อาหาร – บาทบาทการแพ้อาหารในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก การแพ้อาหารจริงๆมักไม่ทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน แต่หลายคนจะมีอาการเมื่อทานอาหารบางชนิดได้ ซี่งในแต่ละคนจะมีอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันไป
  • ความเครียด – ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนมักจะมีอาการแย่ลงเมื่อผ่านช่วงที่มีความเครียด แต่ระหว่างที่มีความเครียด จะยังไม่เกิดอาการ
  • ฮอร์โมนส์ – ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคลำไส้แปรปรวนมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า ซึ่งอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนส์ ผู้หญิงส่วนมากมักจะเกิดอาการในช่วงใกล้ๆที่มีประจำเดือน

** ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลำไส้แปรปรวน **

  • อายุ – คนที่อายุน้อย จะมีโอกาสเป็นโรคลำไส้แปรปรวนมากกว่าคนคนอายุมาก โดยทั่วไปมักเกิดในช่วงอายุ 20-50 ปี
  • เพศ – เพศหญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะช่วงก่อนหรือหลังมีประขำเดือน
  • กรรมพันธุ์ – ผู้ที่มีคนในครอบครัว เคยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จะมีโอกาสเป็นมากกว่าเนื่องจากอาจมียีนส์ที่ทำให้ก่อโรค
  • สุขภาพจิต – ผู้ที่มีปัญหาด้านอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรืออื่นๆ มีโอกาสที่จะเป็นได้มากกว่า

** ผลกระทบของผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน **

  • คุณถาพชีวิตลดลง – คนส่วนมากที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนมักจะมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง มีงานวิจัยพบว่ามีโอกาสถึง 3 เท่า ที่จะต้องขาดงานเพราะมีอาการ
  • อารมณ์แปรปรวน – การเป็นโรคลำไส้แปรปรวรนานๆ อาจจะนำไปสู่การวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าได้ และจะทำให้อาการแย่ลงไปอีก

** การป้องกันการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน **

  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • ทานผลิตภัณฑ์โปรไบโอติก (Probiotic)
  • ฝึกสมาธิ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลา เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ปกติ

การแก้อาการลำไส้แปรปรวนด้วย “โปรไบโอติก

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดลำไส้แปรปรวน เนื่องจากความสมดุลของจุลินทรีย์เปลี่ยนแปลงไป เมื่อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคมีมากกว่า ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มีมากในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะในลำไส้ จึงส่งผลให้ลำไส้ทำงานผิดปกติและเกิดอาการลำไส้แปรปรวนได้

ซึ่งผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกจะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ดี ที่เข้าไปเพื่อยับยังการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้เกิดความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้กลับมาอีกครั้ง

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าในโปรไบโอติกนั้น มีจุลินทรีย์สายพันธุ์ใดด้วย เพราะจุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์มีประโยชน์ร่างกายที่แตกต่างกันไป

โดยใน Lish FLora นั้น มีจุลินทรีย์ทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ซึ่งมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ที่ช่วยเรื่องของการปรับสมดุลในลำไส้ ได้แก่ Lactobacillus gasseri, Bifidobacterium longum, และ Bifidobacterium infantis ทำให้รู้สึกอาการลำไส้แปรปรวนดีขึ้นหลังทานต่อเนื่อง 3-5 วัน