เรื่องน่ารู้ก่อนกิน Probiotics! ทำไมกิน Probiotics แล้วไม่ได้ผล?



เราต้องกิน Probiotics อย่างไรให้ได้ผล?

ช่วงนี้เราน่าจะได้ยินคำว่า “Probiotics” กันอยู่ไม่น้อย บางก็รู้จัก และรู้ว่ามันมีประโยชน์มากมาย ทั้งในเรื่องการขับถ่าย ปรับสมดุลของร่างกาย แต่หลายคนก็ยังไม่รู้จักดี อาจจะแค่คุ้น ๆ ชื่อมาบ้าง แต่ถ้าเราบอกว่า มันแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ประเภทแรกคือ แซคคาโรไมซิส, ไบฟิโดแบคทีเรียม และประเภทสุดท้าย คือ แลคโตบาซิลลัส หลายคนอาจจะ ทำตาโตแล้วพยักหน้านิดหนึ่งง เพราะเราเองก็เคยได้ยินชื่อนี้ คุ้นหูมาจาก โฆษณาทางทีวี มาจาก นมเปรี้ยวบ้าง โยเกิร์ตบ้างอย่างแน่นอน

ทำความรู้จักโปรไบโอติก

ซึ่งเจ้าโปรไบโอติกเนี่ย มันคือจุลินทรีย์และยีสต์มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา โดยปกติแล้ว ร่างกายจะมีจุลินทรีย์ทั้งชนิดดีและชนิดร้าย ซึ่งหากร่างกายมีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ จุลินทรีย์ชนิดร้ายก็จะเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ในร่างกาย แต่สำหรับโปรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี จะทำหน้าที่ช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งระบบอื่น ๆ กำจัดจุลินทรีย์ชนิดร้าย และคืนสภาวะสมดุลปกติให้กับร่างกาย

ทำไมกินโปรไบโอติกแล้วไม่เห็นผล

ถึงแม้ว่าโปรไบโอติกจะมีอยู่แล้วในร่างกายของเรา และอาหารที่เราทานเข้าไป แต่ก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้ปริมาณของจุลิทรีย์โปรไบโอติกลดลง อย่างเช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง การกินอาหารซ้ำ ๆ ไม่หลากหลาย การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด ทำให้จุลินทรีย์ในร่างกายแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และความไม่สมดุลที่ไม่เหมือนกันจึงเป็นผลต่อปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การเลือกรับประทานโปรไบโอติกที่ไม่ตรงกับสมดุลจุลินทรีย์ของตัวเอง อาจทำให้ทานแล้วไม่เห็นผล

โปรไบโอติกทานอย่างไรดี?

อันที่จริงแล้ว ได้รับโปรไบโอติกจากอาหารที่เราทานเข้าไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชาหมัก และกิมจิ การทานโปรไบโอติกอาจจะไม่มีเวลาตายตัวมากนัก ยิ่งหากรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติก ก็สามารถรับประทานได้ตามช่วงมื้ออาหาร หรือช่วงเวลาที่ต้องการของแต่ละบุคคลได้เลย

ส่วนในกรณีที่รับประทานโปรไบโอติกที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เราควรทานโปรไบโอติกก่อนมื้ออาหาร หรือระหว่างมื้ออาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยน้ำย่อยหรือยาบางชนิด เนื่องจากช่วงก่อนอาหาร กระเพาะจะมีความเป็นกรดต่ำ โอกาสที่โปรไบโอติกจะถูกทำลายจากน้ำย่อยจึงลดลง และกับน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำเย็น เพื่อช่วยดึงประสิทธิภาพโปรไบโอติกได้มากขึ้น และเนื่องจากโปรไบโอติกเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายไม่ได้นานนัก เพราะสุดท้ายแล้วเราจะขับถ่ายมันออกมา ดังนั้นจึงควรรับประทานโปรไบโอติกเป็นประจำ

นอกจากนี้ก็ควรรับประทานโพรไบโอติกในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำควรได้รับ 10,000 ล้าน CFU ต่อวัน โดยสามารถเช็กจำนวนโปรไบโอติกได้จากฉลากสินค้า หรือการทานตามคำแนะนำของเภสัชร และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

สุดท้ายหากเราทานโปรไบติกเป็นประจำอย่างต่อเนื่องแล้ว เราสามารถสังเกตผลของตัวเองได้ง่าย ๆ จากอาการที่เรามี เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสีย ท้องอืด หากร่างกายได้รับโปรไบโอติกอย่างเหมาะสมแล้วจะต้องช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้เราได้ หรือทำให้อาการดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หากรับประทานโพรไบโอติกส์มากเกินความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวัน อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้

แบบนี้เราอาจจะสรุปได้ว่า การรับประทานโปรไบโอติกให้ได้ผล อาจจะขึ้นอยู่กับสมดุลของร่างกาย และปริมาณจุลิทรีย์ของแต่ละคน ที่มากน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเสริมโปรไบโอติกในรูปแบบอาหารที่เราทานเข้าไปในแต่ละมื้อสามารถทำได้ตามช่วงมื้ออาหารปกติ คือ อาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็น หรือในช่วงแต่เวลาที่เราต้อง และในส่วนของอาหารเสริมต่าง ๆ อาจจะต้องได้รับได้ในช่วงเวลา และปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย ทั้งนี้เราอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะแน่นอนว่าอะไรที่เราได้รับมันมากเกินความจำเป็นนั้นมันไม่ส่งผลดีต่อร่างกายแน่นอนค่ะ และถ้าใครมองหาโปรไบโอติกที่ได้ผลดีไม่หลอกลวงผู้บริโภค Lish Flora คือคำตอบค่ะ เพราะเราเป็นแบรนด์เดียวในประเทศไทยที่ได้การรับรองจากจุฬาลงกรณ์ว่า ช่วยลดพุงหมาน้อย และช่วยทำให้ระบบขับถ่ายของคุณดีขึ้นได้จริง หากมีปัญหาเหล่านี้ Lish Flora คือคำตอบค่ะ

อ้างอิง enfababy, wellness center, kapook health, bangkokbiznews