“พรีไบโอติก” คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร



พรีไบโอติก คืออะไร?

พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ อาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรต ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นใย (Fiber) ซึ่งจะทนต่อการย่อยของกรดหรือเอนไซม์ในกระเพราะอาหาร แต่จะสามารถย่อยได้ด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ที่จัดว่าเป็นโปรไบโอติก โดยจะกระตุ้นการทำงานหรือเร่งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ หากจะสรุปสั้นๆ ก็จะได้ว่า พรีไบโอติก คือ อาหารของของโปรไบโอติก หรืออาหารของจุลินทรีย์ตัวดีนั่นเอง

อาหารชนิดใดบ้างที่มีพรีไบโอติก?

พรีไบโอติกที่นิยมนำมาใช้มากที่สุด คือเส้นใยอาหารที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งเราจะพบพรีไบโอติกในธรรมชาติจากพืชต่างๆ เช่น ธัญพืช ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง หัวหอม กระเทียม แอปเปิ้ล และกล้วย นอกจากนี้ยังพบในสาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิด รวมทั้งการสังเคราะห์โดยใช้วิธีการย่อยด้วยเอนไซม์

พรีไบโอติกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

สำหรับพรีไบโอติกที่นำมาใช้บ่อยๆ ก็คือกลุ่ม โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตสายสั้น ประกอบด้วยน้ำตาลตั้งแต่ 3 ถึง 10 หน่วย เช่น raffinose, stachyose, Fructo-Oligosaccharide (FOS), lactulose, Galacto-Oligosaccharide (GOS) เป็นต้น

อีกกลุ่มหนึ่ง คือ อินูลิน (inulin) เป็นสาร polysaccharides ที่พืชเก็บสะสมไว้เป็นอาหาร ซึ่งพบมากใน เห็ด หัวหอม หัวกระเทียม กล้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบพรีไบโอติกในกลุ่มอื่นๆอีก เช่น น้ำตาลแอลกฮอล์ (sugar alcohol), Resistant starch, Mucin glycoproteins, Protein และ peptides เป็นต้น

ควรทานพรีไบโอติกในปริมาณเท่าไหร่?

ปริมาณที่แนะนำให้ทานในแต่ละวันนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล แต่สำหรับคนทั่วไปอย่างน้อยควรจะทานพรีไบโอติก 1 กรัม/วัน

ประโยชน์ของพรีไบโอติกมีอะไร?

สำหรับประโยชน์ของพรีไบโอติกจะสัมพันธ์กับโปรไบโอติก เพราะพรีไบโอติกจะเป็นแหล่งคาร์บอนหรือแหล่งพลังงานในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้เกิดเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้

แก้ท้องผูก – พรีไบโอติกเป็นน้ำตาลสายสั้นๆ หรือที่เรียกว่าว่าน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ด้วยคุณสมบัติการเป็นเส้นใยอาหาร จึงทำให้ช่วยเพิ่มพื้นที่ในลำไส้ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของลำไส้ได้ดีขึ้นด้วย

ป้องกันและยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค – การดื่มน้ำและอาหารเข้าไป นอกจากสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว ยังมีสิ่งเจือปนของจุลิทรีย์ที่สามารถก่อโรคต่อร่างกายได้ เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้เจริญเติบโตจะทำการสร้างสารพิษออกมา แล้วทำลายเนื้อเยื่อในลำไส้ ทำให้รู้สึกระคายเคือง หรืออาจจะไปขัดขวางการทำงานของเยื่อเมือกในลำไส้ ทำให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ได้

ด้วยความที่พรีไบโอติกไปช่วยส่งเสริมให้โปรไบโอติกเจริญเติบโตและผลิตกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acid : SCFA) หลายชนิด ทำให้ค่า pH ในลำไส้ลดลง ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้ปริมาณเชื้อโรคหรือสารพิษลดลง อีกทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นโปรไบโอติกจะสามารถยึดเกาะผนังลำไส้ได้ดีกว่า จึงทำให้ช่วยป้องกันและยับยั้งการก่อโรคได้

เพิ่มการดูซึมแร่ธาตุ – โดยส่วนใหญ่การดูดซึมแร่ธาตจะเกิดที่บริเวฯลำไส้เล็ก ทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของกระดูกและฟัน โดยการศึกษาพบว่ามีการดูดซึมแร่ธาตุที่ปลายลำไส้ได้อีกด้วย ซึ่งเกิดจากการหนักของพรีไบโอติกทำให้ปริมาณของกรดไขมันสายสั้นเพิ่มขึ้น และค่า pH ที่ลำไส้ส่วนปลายลดลง แร่ธาตุต่างๆจึงละลายได้ดี ทำให้เพิ่มการดูดซึมแร่ธาติได้ดีขึ้น

ป้องกันการเกิดมะเร็ง – กรดไขมันสายสั้น ที่เกิดจากการหมักของพรีไบโอติก โดยเฉพาะบิวทีเรท (Butyrate) จะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการเจิรญและซ่อมแซมเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ดีขึ้น และยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต หยุดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ ทำให้เซลล์ตายไปตามธรรชาติ จึงเป็นการป้องกันโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ได้

ดังที่ทราบกันว่าพรีไบโอติกนั้นมีประโยชน์ในตัวเองอยู่แล้ว แต่จะมีประโยชน์ยิ่งกว่าหากรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกเข้าไปด้วย ก็จะทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกายในส่วนต่าง เช่น การแก้ลำไส้แปรปรวน การลดอาการของกรดไหลย้อน เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโปรไบโอติกและพรีไบโอติก เราเรียกว่า ซินไบโอติก (Synbiotic) นั่นเอง